เทลั่มทอล์ก... แฟดลี อัล อาคิติ, บรรณาธิการ, นิตยสารเดวัน แสสเทอรา
Interview

เทลั่มทอล์ก... แฟดลี อัล อาคิติ, บรรณาธิการ, นิตยสารเดวัน แสสเทอรา

บทสัมภาษณ์นี้ ต้นฉบับจัดทำเป็นภาษามลายู จากนั้นได้รับการเรียบเรียงและแปลเป็นภาษาอังกฤษ หากมีข้อความที่ไม่สอดคล้องกันหรือกำกวม ระหว่างฉบับแปลภาษาอังกฤษและภาษามลายู ให้เลือกยึดถือภาษามลายูเป็นหลัก สามารถอ่านข้อความต้นฉบับ ได้ที่นี

ช่วยบอกเล่าประวัติความเป็นมาของ เดวัน แสสเทอรา?
เดวัน แสสเทอรา เป็นนิตยสารวรรณกรรมแห่งชาติของประเทศมาเลเซีย ตีพิมพ์เป็นภาษามลายู เป็นเวลาห้าสิบปีแล้ว ทั้งยังเป็นนิตยสารด้านวรรณกรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพียงหนึ่งเดียวที่ยังเผยแพร่อยู่ในภูมิภาค ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2514 และบริหารงานโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญวรรณกรรมมาเลเซีย เช่น Keris Mas, Usman Awang, Kemala, Dinsman, Baha Zain, Johan Jaaffar, และ Suhaimi Haji Muhammad ไม่เพียงแต่เผยแพร่ผลงานชิ้นเอกด้านวรรณกรรมสมัยใหม่ที่วิจิตร แต่ยังทำหน้าที่เป็นสื่อกลาง สร้างความสามัคคีในสังคมสหวัฒนธรรม ในการสะท้อนภูมิปัญญาและความสร้างสรรค์ของผู้คนในสังคม ผ่านภาษาประจำชาติของเรา

คุณวางแผนกลยุทธ์ในการสร้างเนื้อหา สำหรับนิตยสารแต่ละเล่มอย่างไร
เราจะมีการวางแผนประจำปีกับคณะกรรมการบทบรรณาธิการ เพื่อพิจารณาประเมินแนวทางด้านงานวิจัยของสภาภาษาและวรรณกรรม (Dewan Bahasa and Pustaka, DBP) และกองแผนนโยบาย พร้อมด้วยแนวทางของสภา DBP ในภาพรวม เพื่อกำหนดการพัฒนาวรรณกรรมประจำปีนั้น :ซึ่งมักจะเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบัน เช่น ประเด็นร้อนอื่นนอกเหนือข่าวการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19, การเปลี่ยนแปลงสถานการณ์การเมือง และการบริหารงานของรัฐบาล ล้วนเป็นผลกระทบจากวิวัฒนาการเทคโนโลยีที่มีต่อมนุษยชาติ สิ่งนี้คือพื้นฐานความคิดของเรา นอกจากการดำเนินการประจำปีหรือทุกสองปี เช่น สัมมนา โดยกำหนดหัวข้อจากแนวคิดของนักเขียนที่ได้รับการคัดเลือก และการมอบรางวัลวรรณกรรม Grand Literature Prize

แม้ว่า หากพูดแบบราชการ ขอบเขตงานของผมจะเกี่ยวข้องกับกองงานอื่น เพื่อวัตถุประสงค์การตีพิมพ์ต่าง ๆ เช่น สภาวรรณกรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (MASTERA) ผมยินดีอย่างยิ่งที่ได้ร่วมงานกับนักเขียนวรรณกรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, สมาชิกระดับประเทศของสภา MASTERA และสมาชิกในอาเซียน โดยเฉพาะเกี่ยวข้องกับพัฒนาการด้านวรรณกรรมของชาตินั้น ทิศทางในอนาคต และผลงานวรรณกรรมที่กำลังสร้างสรรค์อยู่ 

นิตยสารเดวัน แสสเทอรา ฉลองครบปีที่ 50 ในปีนี้ จากมุมมองของคุณ มีสิ่งใดบ้างที่ถือว่านิตยสารประสบความสำเร็จที่สุดและมีความท้าทายใดบ้างที่รออยู่ในอนาคต?
ผมขอกล่าวอย่างตรงไปตรงมาเกี่ยวกับความท้าทาย ซึ่งก็คือ การแปลงข้อมูลเป็นดิจิทัล (digitalisation) และนโยบายด้านวรรณกรรมแห่งชาติ ซึ่งเป็นความท้าทายสากลที่พบเจอได้ทั่วโลก เราควรเตรียมพร้อมรับมือกับความท้าทายนี้อย่างรอบคอบ อย่างไรก็ตาม ความเข้าใจสังคมและอารยธรรม ยังคงต้องมีการส่งเสริมรักษาวรรณกรรม ซึ่งสะท้อนลึกถึงจิตวิญญาณของสังคมนั้น เพื่อความเข้าใจโลกและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมที่ดีขึ้น ในช่วงห้าสิบปีที่ผ่านมา เดวัน แสสเทอรา ประสบความสำเร็จอย่างมาก และปัจจุบัน เป็นหนึ่งในแหล่งอ้างอิงสำคัญของศูนย์ภาษาและงานวิจัยด้านภาษามลายู ทั้งนี้ ผมไม่ต้องการพูดเรื่องนี้บ่อยนัก เพราะผู้ที่สามารถพูดถึงความสำเร็จของนิตยสารได้ดีที่สุด คือผู้ที่คอยติดตามการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่การก่อตั้ง

นิตยสารเดวัน แสสเทอรา ได้เผยแพร่ในรูปแบบดิจิทัลด้วยแล้ว คุณวางกลยุทธ์อย่างไรกับภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลานี้ และตั้งความคาดหวังใดต่อนิตยสารนี้?
หากพูดตามหลักการ ใช่ครับ นิตยสารเราควรยอมรับการเปลี่ยนแปลงและความต้องการในปัจจุบัน หากมีความต้องการให้นิตยสารเดวัน แสสเทอรา ปรากฏในสื่อสังคมออนไลน์ ก็เป็นไปตามนั้น แน่นอนว่า ผมกำลังเตรียมการจัดการผลิตนิตยสารออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบ ดังเช่น นิตยสาร The New Yorker หรือ นิตยสาร Paris Review ซึ่งดำเนินการทั้งในรูปแบบสิ่งพิมพ์และดิจิทัล อย่างไรก็ตาม ต้องคำนึงถึงปัจจัยบางประการ สำหรับกลยุทธ์นี้ อาทิ ทรัพยากรมนุษย์ การเงิน ความชำนาญ และทักษะ ผมเชื่อโดยแท้ว่า นิตยสารและผลงานวรรณกรรมชิ้นเอกในเล่ม จะยังเป็นที่นิยมและถูกอ้างอิงอยู่เสมอ ดังนั้นนิตยสารจะมีคุณค่าทั้งเชิงมูลค่าและเชิงพาณิชย์ แผนการนี้เข้าที่เข้าทางมาตั้งแต่สิบปีที่แล้ว และสิ่งที่ผมทำได้คือการรวบรวมข้อมูลย้อนกลับของสังคม ขณะนี้ สามารถเข้าถึงนิตยสารได้ฟรี ในนามของงานความรับผิดชอบต่อสังคมของสภาฯ DBP แต่ผมได้ทำแบบสำรวจคุณค่าเชิงพาณิชย์ของนิตยสาร ได้รับข้อมูลย้อนกลับเชิงบวกเพื่อขอให้นิตยสารเข้าสู่เวทีพาณิชย์และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  

จากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ได้ส่งผลกระทบต่อพลวัตของอุตสาหกรรมสื่อ ในความคิดของคุณ ศิลปะและวรรณกรรมจะสร้างผลกระทบกับสังคมในทุกวันนี้ได้อย่างไร?
ร้านหนังสือออนไลน์จำนวนมากมียอดขายเพิ่มขึ้นในช่วงโควิด 19 และมีจำนวนคำขอเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือกับทางหอสมุดแห่งชาติที่เพิ่มขึ้น สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงอัตราการผลิตหนังสือที่คล่องตัวท่ามกลางสถานการณ์โรคระบาดนี้ อีกทั้งเรายังมีเวลาอ่านหนังสือเพิ่มขึ้น หรืออย่างน้อย ได้ไตร่ตรองถึงโลกภายนอก ผ่านหน้าต่างความคิดของเรา การไตร่ตรองช่วยให้บำรุงความคิดและก่อให้เกิดความคิดเห็นของตัวเราเอง

สื่อและการประชาสัมพันธ์ จะกระตุ้นความพยายามในการรักษาวรรณกรรม ในระดับชาติได้อย่างไร?
สื่อและการประชาสัมพันธ์ มีบทบาทสำคัญ โดยเฉพาะการแสดงสรุปความของเครือข่ายองค์กรในอุตสาหกรรมด้านวรรณกรรมและการตีพิมพ์ ผมเชื่อว่าอุตสาหกรรมการประชาสัมพันธ์และสื่อ เสนอช่องทางการทำงานแบบใหม่ สิ่งนี้เอง จุดประกายมิติใหม่ในการแบ่งปันความรู้ และยังสอนเราว่า ในงานวรรณกรรม ไม่มีการแข่งขันต่อสู้ จะมีเพียงความพร้อมเพรียงอยู่รวมกัน หากมีผลงานวรรณกรรมชิ้นเอก นิตยสารหรือนักเขียนท่านใดของเรา ประสบความสำเร็จ ชื่อเสียงก็จะเป็นของเราทุกคน ตัวอย่าง เช่น คุณ Tan Twan Eng และคุณ Hanna-Alkaf ในงานสันนิบาตระหว่างประเทศ หรือเรื่องราวความสำเร็จของเจ้าของรางวัลวรรณกรรมระดับชาติ ศาสตราจารย์กิตติคุณ มูฮัมมัด ฮาจิ สัลเล ที่ได้รับการตีพิมพ์ผลงานวรรณกรรมทรานส์ภาษาอังกฤษของสยาราะฮ์มลายู กับสำนักพิมพ์ Penguin ตัวอย่างนี้คือความสำเร็จร่วมกันของเรา นั่นคือสิ่งที่เราควรภาคภูมิใจ

More stories


Telum Media

ฐานข้อมูล

นักข่าว
Muhammad Fadhli Al-Akiti

Editor

สำนักสื่อ
Dewan Sastera

4 contacts, 1 media request

Get in touch to hear more

ขอดูการสาธิต

Telum Media

การแจ้งเตือน

Regular email alerts featuring the latest news and moves from the media industry across Asia Pacific Enjoy exclusive daily interviews with senior journalists and PRs as well as in-house editorial and features from the Telum team

สมัครรับการแจ้งเตือน