Interview
เทลั่มทอล์ก... ขวัญชนก วุฒิกุล, ผู้จัดรายการวิทยุ, Smart News 90.5 (ประเทศไทย)
ช่วยแนะนำตัวหน่อยค่ะ ตอนนี้ทำอะไรอยู่บ้าง
ปัจจุบันเป็นผู้ดำเนินรายการวิทยุ เป็นรายการสดออกอากาศทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 10.00-11.00 น. ทาง Smart News 90.5 นอกจากนั้นยังเป็นคอมเมนเตเตอร์ ให้คำแนะนำกับลูกหนี้ในรายการ “ทีเด็ดลูกหนี้” ออกอากาศทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
แล้วมีรายการพ็อดคาสท์สองรายการคือ “เล่าเท่าที่เหลือ” ซึ่งคอนเซ็ปต์รายการจะเป็นการตอบคำถามที่เหลือจากรายการวิทยุ เป็นการเล่าเรื่องเกี่ยวกับการเงิน, การลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ, กองทุน, หุ้นกู้และหุ้น กับ“แก(ล้)มเล่า” ที่เน้นให้คำแนะนำเรื่องของการบริหารจัดการเงิน หรือการแก้ไขปัญหาหนี้ ที่เรามีประสบการณ์จากรายการทีวี นำมาขยายความต่อในรายการนี้ ซึ่งสามารถเข้าชมได้ผ่านช่องทาง YouTube และผ่านทางแพลทฟอร์มของพ็อดคาสท์ PKTalk Podcast
และเพิ่งไม่นานมานี้ เพิ่งร่วมงานกับทาง sanook.com จัดรายการพ็อดคาสท์ชื่อ “ชีวิตต้องสู้ เพราะกู้มาเยอะ”
บทบาทใดเป็นบทบาทแรกในการเริ่มทำงานสื่อและมีเส้นทางอย่างไรจนมาทำงานในบทบาทปัจจุบัน
จุดเริ่มต้นในการทำงานสื่อ เริ่มจากตอนเรียนจบบัญชีจากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คือเรียนไม่เก่งเลย ใช้เวลา 5 ปีถึงเรียนจบ แล้วจบด้วยเกรดเฉลี่ย 2.10 พอจบมาก็ไม่มีองค์กรไหนรับเข้า จนวันนึงมาสมัครเป็นพนักงานฝ่ายการเงิน นสพ.วัฏจักรรายวัน ซึ่งตอนนั้นทางกอง บรรณาธิการอยากได้คนจบบัญชีมาทำงานเป็นนักข่าวสายตลาดหุ้น เพราะกองบรรณาธิการมีแนวคิดว่าการเลือกคนที่จบบัญชีมาดูงบการเงินหรือมาดูข่าวของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ มีพื้นฐานตัวเลขคำนวณมาบ้างน่าจะฝึกง่ายกว่าคนที่จบนิเทศศาสตร์หรือวารสารศาสตร์
ถามว่าตอนนั้นสนใจมั้ย ก็ต้องบอกตรงๆ ว่า ไม่ได้อยากทำ เพราะเราไม่มีภาพนักข่าวในหัว เราจบบัญชีก็ต้องทำงานฝ่ายการเงิน แต่ในเมื่อเป็นงานเดียวที่ตอบรับเรา เหมือนเป็นโอกาสสุดท้ายที่เราเลือกไม่ได้ เราก็ต้องลองทำ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 จนถึงตอนนี้ก็อยู่กับงานแบบนี้มาตลอด ไม่ได้เปลี่ยนเลย
เราโชคดีตรงที่พอเข้าไปทำงานแล้วมีเจ้านายเป็นครูที่ดี เพราะมีคุณวีระ ธีรภัทรเป็นบรรณาธิการอำนวยการ คุณวีระดุมากแต่ก็มีความรู้มาก เราได้เรียนรู้อะไรเยอะมาก และความที่เราเรียนไม่เก่ง ไม่ได้ทำงานตรงสายอีกต่างหาก เราก็เลยต้องพยายามมากกว่าคนอื่น คิดเสมอว่าต้นทุนเราไม่เท่าคนอื่น เราก็ทำให้มากกว่า ทำให้หนักกว่า ต้องพยายามมากๆ จนทำให้เรามีโอกาสมากขึ้น และเราพยายามทำทุกโอกาสให้ดีที่สุด ตอนอยู่ที่วัฏจักรยุคเฟื่องฟู ทำให้เราได้โอกาสจัดรายการวิทยุเรื่องหุ้น แล้วก็มีโอกาสทำรายการทีวีทางเคเบิลทีวี ไทยสกาย จนถึงวิกฤติ พ.ศ. ปี 2540 เราลาออกมารับเป็นฟรีแลนซ์จัดรายการวิทยุที่ FM 97 จนถึงปี พ.ศ. 2543 ทางเนชั่น มาชวนไปจัดรายการวิทยุที่ FM 90.5 ตอนนั้นเป็นพนักงานประจำของเนชั่น จัดรายการวิทยุ พร้อมๆ กับทำงานหนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก จากนักข่าวเป็นบรรณาธิการข่าวเศรษฐกิจ และลาออกเมื่อปี พ.ศ. 2550 แต่ก็ยังเป็นคอลัมนิสต์ ส่วนรายการวิทยุ ยังจัดต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
สำหรับรายการทีวี ทางทีมงานทีเด็ดลูกหนี้ติดต่อมาเมื่อปี 2558 อยากให้มาเป็นคอมเมนเตเตอร์ ก็เลยได้ร่วมงานกันจนถึงปัจจุบันเช่นกันค่ะ
กำลังมีรายการพ็อดคาสท์ตัวใหม่ออกมากับทางเว็บไซต์สนุก ช่วยเล่าเพิ่มเติมให้เราฟังหน่อยค่ะ
ทางสนุกมาชวน น่าจะเคยเห็นจากคอลัมน์ Money Care ที่เขียนให้กับ NationTV กับ Business Today เพราะตอนที่เขียนคอลัมน์นี้จะเน้นเรื่อง Personal Finance สอนลูกเก็บเงิน สอนแม่บ้านใช้เงิน อะไรประมาณนี้ เขาก็เลยเห็นเป็นผู้เชี่ยวชาญ แล้วอาจจะเพราะเป็นคอมเมนเตเตอร์ใน “ทีเด็ดลูกหนี้” ซึ่งบทบาทการให้คำแนะนำลูกหนี้มันชัด ประกอบกับประเทศนี้มีปัญหาเรื่องสัดส่วนหนี้ครัวเรือนสูง กู้ได้กู้ กู้แบบไม่คิดหน้าคิดหลัง ทางทีมก็เลยให้ลองไปคุย ซึ่งพอเราเห็นว่าเป็นทีมสนุก เราก็สนใจ เพราะกลุ่มคนที่ฟัง Podcast ของสนุกน่าจะแตกต่างจากคนฟังรายการวิทยุของเรา หรือคนที่ดูรายการทีวี เราอยากให้คำแนะนำที่เราเชื่อว่า มันใช้ได้จริง ทำได้จริง มันเป็นประโยชน์ แล้วมันทำได้ง่ายๆ ไม่ยาก มันได้รับการเผยแพร่ในกลุ่มคนต่างๆ อย่างกว้างขวาง ก็เลยตัดสินใจร่วมงานกับสนุกค่ะ
เนื้อหาที่คุยกันใน Sanook Podcast นี่ หลายคนอาจจะงงเลยว่า มีเรื่องแบบนี้บนโลกด้วยเหรอ แต่มันคือประสบการณ์จริง คุณจะรู้ว่า เฮ้ย เราเป็นหนี้กันได้ง่ายๆ มาก มันมีหนี้ความเชื่อ หนี้ความรัก หรือแม้แต่เทคนิคการไม่ให้คนยืมเงิน เรานึกว่ามันยาก แต่จริงๆ มันง่าย ทำได้ ไม่เสียเพื่อนด้วย ต้องลองฟังค่ะ อันนี้ออนแอร์ทุกวันพฤหัสฯ นะคะ
ในฐานะสื่อพี่แก้มมีข้อแนะนำหรือทิปส์อย่างไรบ้างในการทำงานร่วมกันระหว่างสื่อและพีอาร์
ตัวเองยังเชื่อในเรื่องของคอนเท้นท์ค่ะ สำหรับการทำพีอาร์ คอนเท้นท์ที่แข็งแรงมันน่าสนใจเสมอ แล้วมันทำให้สื่อไม่ลำบากใจในการที่จะนำคอนเท้นท์ดีๆ มานำเสนอให้กับคนที่เสพสื่อ อันนี้พูดในแง่ของพีอาร์กับสื่อหลักๆ นะคะ ไม่นับรวมสื่อในโซเชียล โดยเฉพาะที่นิยมดราม่า ซึ่งก็โชคดีที่สื่อการเงินไม่ค่อยมีเรื่องดราม่า
มีเรื่องราวใดบ้างที่คุณคิดว่าจะต้องจับตามองในแวดวงการเงินในปีนี้บ้างคะ
ถ้าสำหรับตัวเอง ก็ต้องบอกว่าเราคลุกคลีกับลูกหนี้ เพราะฉะนั้นเราก็จะห่วงปัญหาหนี้ครัวเรือนที่กัดกร่อนแกนกลางของเศรษฐกิจ ประเทศที่ประชาชนเป็นหนี้โงหัวไม่ขึ้นก็เหมือนกับองค์กรที่มีพนักงานป่วยตลอด จะเดินหน้าต่อก็ยาก ต้องรักษาโรคเรื้อรัง แล้วเราปฏิเสธไม่ได้ว่า วิกฤติโควิด-19 มันทำให้เห็นชัดเลยว่า เรามีความเปราะบางทางการเงิน ทั้งประชาชนคนธรรมดา รวมไปถึงธุรกิจเอสเอ็มอี พอเจอกับภาวะ Income Shock ในการระบาดระลอกแรกเมื่อปีที่แล้ว ที่เคยพูดกันว่า ต้องมีเงินสำรองฉุกเฉิน 6 เท่าของรายจ่ายในแต่ละเดือนนะ นี่คือไม่ใช่เลย บางคนออกจากบ้านไม่ได้ ไปทำงานไม่ได้ก็คือไม่มีเงินแล้ว แสดงว่าเปราะบางมาก ไม่สามารถรองรับแรงกระแทกได้เลย ไม่นับรวมภาระหนี้สินที่แม้ว่าจะมีมาตรการช่วยเหลือเยียวยา แต่หนี้มันไม่ได้หายไป มันยังอยู่ อันนี้คือเรื่องที่ห่วงที่สุด
ในฐานะผู้เชี่ยวชาญและสื่อด้านการเงินมาหลายปีคุณได้เห็นการเปลี่ยนแปลง / การพัฒนาอะไรบ้างในอุตสาหกรรมที่คุณไม่เคยเห็นมาก่อน
เราเห็นพัฒนาการของการใช้เงินสดน้อยลง ส่วนหนึ่งเพราะมาตรการช่วยเหลือเยียวยาของรัฐจากผลกระทบโควิด-19 ทั้งเราไม่ทิ้งกัน คนละครึ่ง เราชนะ และ ฯลฯ ทุกอย่างทำผ่านแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ ทำให้ประชาชนเรียนรู้เทคโนโลยีมากขึ้น ใครจะเป็นคิดว่าพ่อค้าแม่ค้า หาบเร่แผงลอย จะมาถึงจุดที่รับชำระเงินด้วยแอพ แม้กระทั่งวินมอเตอร์ไซค์ อันนี้ก็เออ เรามาถึงจุดนี้ได้นะ หรือแม้แต่การจองซื้อหุ้น จองซื้อพันธบัตร ส่วนใหญ่ก็ใช้แอพพลิเคชั่น ไม่ต้องไปต่อคิวจองซื้อที่สาขาแบงก์ให้ยุ่งยาก
ถ้าเป็นเรื่องการพัฒนาในอุตสาหกรรมการเงิน ก็ต้องเรื่องนี้หละค่ะ
ปัจจุบันเป็นผู้ดำเนินรายการวิทยุ เป็นรายการสดออกอากาศทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 10.00-11.00 น. ทาง Smart News 90.5 นอกจากนั้นยังเป็นคอมเมนเตเตอร์ ให้คำแนะนำกับลูกหนี้ในรายการ “ทีเด็ดลูกหนี้” ออกอากาศทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
แล้วมีรายการพ็อดคาสท์สองรายการคือ “เล่าเท่าที่เหลือ” ซึ่งคอนเซ็ปต์รายการจะเป็นการตอบคำถามที่เหลือจากรายการวิทยุ เป็นการเล่าเรื่องเกี่ยวกับการเงิน, การลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ, กองทุน, หุ้นกู้และหุ้น กับ“แก(ล้)มเล่า” ที่เน้นให้คำแนะนำเรื่องของการบริหารจัดการเงิน หรือการแก้ไขปัญหาหนี้ ที่เรามีประสบการณ์จากรายการทีวี นำมาขยายความต่อในรายการนี้ ซึ่งสามารถเข้าชมได้ผ่านช่องทาง YouTube และผ่านทางแพลทฟอร์มของพ็อดคาสท์ PKTalk Podcast
และเพิ่งไม่นานมานี้ เพิ่งร่วมงานกับทาง sanook.com จัดรายการพ็อดคาสท์ชื่อ “ชีวิตต้องสู้ เพราะกู้มาเยอะ”
บทบาทใดเป็นบทบาทแรกในการเริ่มทำงานสื่อและมีเส้นทางอย่างไรจนมาทำงานในบทบาทปัจจุบัน
จุดเริ่มต้นในการทำงานสื่อ เริ่มจากตอนเรียนจบบัญชีจากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คือเรียนไม่เก่งเลย ใช้เวลา 5 ปีถึงเรียนจบ แล้วจบด้วยเกรดเฉลี่ย 2.10 พอจบมาก็ไม่มีองค์กรไหนรับเข้า จนวันนึงมาสมัครเป็นพนักงานฝ่ายการเงิน นสพ.วัฏจักรรายวัน ซึ่งตอนนั้นทางกอง บรรณาธิการอยากได้คนจบบัญชีมาทำงานเป็นนักข่าวสายตลาดหุ้น เพราะกองบรรณาธิการมีแนวคิดว่าการเลือกคนที่จบบัญชีมาดูงบการเงินหรือมาดูข่าวของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ มีพื้นฐานตัวเลขคำนวณมาบ้างน่าจะฝึกง่ายกว่าคนที่จบนิเทศศาสตร์หรือวารสารศาสตร์
ถามว่าตอนนั้นสนใจมั้ย ก็ต้องบอกตรงๆ ว่า ไม่ได้อยากทำ เพราะเราไม่มีภาพนักข่าวในหัว เราจบบัญชีก็ต้องทำงานฝ่ายการเงิน แต่ในเมื่อเป็นงานเดียวที่ตอบรับเรา เหมือนเป็นโอกาสสุดท้ายที่เราเลือกไม่ได้ เราก็ต้องลองทำ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 จนถึงตอนนี้ก็อยู่กับงานแบบนี้มาตลอด ไม่ได้เปลี่ยนเลย
เราโชคดีตรงที่พอเข้าไปทำงานแล้วมีเจ้านายเป็นครูที่ดี เพราะมีคุณวีระ ธีรภัทรเป็นบรรณาธิการอำนวยการ คุณวีระดุมากแต่ก็มีความรู้มาก เราได้เรียนรู้อะไรเยอะมาก และความที่เราเรียนไม่เก่ง ไม่ได้ทำงานตรงสายอีกต่างหาก เราก็เลยต้องพยายามมากกว่าคนอื่น คิดเสมอว่าต้นทุนเราไม่เท่าคนอื่น เราก็ทำให้มากกว่า ทำให้หนักกว่า ต้องพยายามมากๆ จนทำให้เรามีโอกาสมากขึ้น และเราพยายามทำทุกโอกาสให้ดีที่สุด ตอนอยู่ที่วัฏจักรยุคเฟื่องฟู ทำให้เราได้โอกาสจัดรายการวิทยุเรื่องหุ้น แล้วก็มีโอกาสทำรายการทีวีทางเคเบิลทีวี ไทยสกาย จนถึงวิกฤติ พ.ศ. ปี 2540 เราลาออกมารับเป็นฟรีแลนซ์จัดรายการวิทยุที่ FM 97 จนถึงปี พ.ศ. 2543 ทางเนชั่น มาชวนไปจัดรายการวิทยุที่ FM 90.5 ตอนนั้นเป็นพนักงานประจำของเนชั่น จัดรายการวิทยุ พร้อมๆ กับทำงานหนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก จากนักข่าวเป็นบรรณาธิการข่าวเศรษฐกิจ และลาออกเมื่อปี พ.ศ. 2550 แต่ก็ยังเป็นคอลัมนิสต์ ส่วนรายการวิทยุ ยังจัดต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
สำหรับรายการทีวี ทางทีมงานทีเด็ดลูกหนี้ติดต่อมาเมื่อปี 2558 อยากให้มาเป็นคอมเมนเตเตอร์ ก็เลยได้ร่วมงานกันจนถึงปัจจุบันเช่นกันค่ะ
กำลังมีรายการพ็อดคาสท์ตัวใหม่ออกมากับทางเว็บไซต์สนุก ช่วยเล่าเพิ่มเติมให้เราฟังหน่อยค่ะ
ทางสนุกมาชวน น่าจะเคยเห็นจากคอลัมน์ Money Care ที่เขียนให้กับ NationTV กับ Business Today เพราะตอนที่เขียนคอลัมน์นี้จะเน้นเรื่อง Personal Finance สอนลูกเก็บเงิน สอนแม่บ้านใช้เงิน อะไรประมาณนี้ เขาก็เลยเห็นเป็นผู้เชี่ยวชาญ แล้วอาจจะเพราะเป็นคอมเมนเตเตอร์ใน “ทีเด็ดลูกหนี้” ซึ่งบทบาทการให้คำแนะนำลูกหนี้มันชัด ประกอบกับประเทศนี้มีปัญหาเรื่องสัดส่วนหนี้ครัวเรือนสูง กู้ได้กู้ กู้แบบไม่คิดหน้าคิดหลัง ทางทีมก็เลยให้ลองไปคุย ซึ่งพอเราเห็นว่าเป็นทีมสนุก เราก็สนใจ เพราะกลุ่มคนที่ฟัง Podcast ของสนุกน่าจะแตกต่างจากคนฟังรายการวิทยุของเรา หรือคนที่ดูรายการทีวี เราอยากให้คำแนะนำที่เราเชื่อว่า มันใช้ได้จริง ทำได้จริง มันเป็นประโยชน์ แล้วมันทำได้ง่ายๆ ไม่ยาก มันได้รับการเผยแพร่ในกลุ่มคนต่างๆ อย่างกว้างขวาง ก็เลยตัดสินใจร่วมงานกับสนุกค่ะ
เนื้อหาที่คุยกันใน Sanook Podcast นี่ หลายคนอาจจะงงเลยว่า มีเรื่องแบบนี้บนโลกด้วยเหรอ แต่มันคือประสบการณ์จริง คุณจะรู้ว่า เฮ้ย เราเป็นหนี้กันได้ง่ายๆ มาก มันมีหนี้ความเชื่อ หนี้ความรัก หรือแม้แต่เทคนิคการไม่ให้คนยืมเงิน เรานึกว่ามันยาก แต่จริงๆ มันง่าย ทำได้ ไม่เสียเพื่อนด้วย ต้องลองฟังค่ะ อันนี้ออนแอร์ทุกวันพฤหัสฯ นะคะ
ในฐานะสื่อพี่แก้มมีข้อแนะนำหรือทิปส์อย่างไรบ้างในการทำงานร่วมกันระหว่างสื่อและพีอาร์
ตัวเองยังเชื่อในเรื่องของคอนเท้นท์ค่ะ สำหรับการทำพีอาร์ คอนเท้นท์ที่แข็งแรงมันน่าสนใจเสมอ แล้วมันทำให้สื่อไม่ลำบากใจในการที่จะนำคอนเท้นท์ดีๆ มานำเสนอให้กับคนที่เสพสื่อ อันนี้พูดในแง่ของพีอาร์กับสื่อหลักๆ นะคะ ไม่นับรวมสื่อในโซเชียล โดยเฉพาะที่นิยมดราม่า ซึ่งก็โชคดีที่สื่อการเงินไม่ค่อยมีเรื่องดราม่า
มีเรื่องราวใดบ้างที่คุณคิดว่าจะต้องจับตามองในแวดวงการเงินในปีนี้บ้างคะ
ถ้าสำหรับตัวเอง ก็ต้องบอกว่าเราคลุกคลีกับลูกหนี้ เพราะฉะนั้นเราก็จะห่วงปัญหาหนี้ครัวเรือนที่กัดกร่อนแกนกลางของเศรษฐกิจ ประเทศที่ประชาชนเป็นหนี้โงหัวไม่ขึ้นก็เหมือนกับองค์กรที่มีพนักงานป่วยตลอด จะเดินหน้าต่อก็ยาก ต้องรักษาโรคเรื้อรัง แล้วเราปฏิเสธไม่ได้ว่า วิกฤติโควิด-19 มันทำให้เห็นชัดเลยว่า เรามีความเปราะบางทางการเงิน ทั้งประชาชนคนธรรมดา รวมไปถึงธุรกิจเอสเอ็มอี พอเจอกับภาวะ Income Shock ในการระบาดระลอกแรกเมื่อปีที่แล้ว ที่เคยพูดกันว่า ต้องมีเงินสำรองฉุกเฉิน 6 เท่าของรายจ่ายในแต่ละเดือนนะ นี่คือไม่ใช่เลย บางคนออกจากบ้านไม่ได้ ไปทำงานไม่ได้ก็คือไม่มีเงินแล้ว แสดงว่าเปราะบางมาก ไม่สามารถรองรับแรงกระแทกได้เลย ไม่นับรวมภาระหนี้สินที่แม้ว่าจะมีมาตรการช่วยเหลือเยียวยา แต่หนี้มันไม่ได้หายไป มันยังอยู่ อันนี้คือเรื่องที่ห่วงที่สุด
ในฐานะผู้เชี่ยวชาญและสื่อด้านการเงินมาหลายปีคุณได้เห็นการเปลี่ยนแปลง / การพัฒนาอะไรบ้างในอุตสาหกรรมที่คุณไม่เคยเห็นมาก่อน
เราเห็นพัฒนาการของการใช้เงินสดน้อยลง ส่วนหนึ่งเพราะมาตรการช่วยเหลือเยียวยาของรัฐจากผลกระทบโควิด-19 ทั้งเราไม่ทิ้งกัน คนละครึ่ง เราชนะ และ ฯลฯ ทุกอย่างทำผ่านแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ ทำให้ประชาชนเรียนรู้เทคโนโลยีมากขึ้น ใครจะเป็นคิดว่าพ่อค้าแม่ค้า หาบเร่แผงลอย จะมาถึงจุดที่รับชำระเงินด้วยแอพ แม้กระทั่งวินมอเตอร์ไซค์ อันนี้ก็เออ เรามาถึงจุดนี้ได้นะ หรือแม้แต่การจองซื้อหุ้น จองซื้อพันธบัตร ส่วนใหญ่ก็ใช้แอพพลิเคชั่น ไม่ต้องไปต่อคิวจองซื้อที่สาขาแบงก์ให้ยุ่งยาก
ถ้าเป็นเรื่องการพัฒนาในอุตสาหกรรมการเงิน ก็ต้องเรื่องนี้หละค่ะ
More stories
Events/Awards
ผลการประกวดบทความข่าวเชิงวิเคราะห์ (ลับคมความคิด) รางวัลป๋วย อึ๊งภากรณ์ ประจำปี 2566
Moves
Travel + Leisure Southeast Asia, Hong Kong and Macau ต้อนรับ Robert Jan Fernhout
Telum Media
ฐานข้อมูล
Get in touch to hear more
ขอดูการสาธิตTelum Media
การแจ้งเตือน
Regular email alerts featuring the latest news and moves from the media industry across Asia Pacific Enjoy exclusive daily interviews with senior journalists and PRs as well as in-house editorial and features from the Telum team
สมัครรับการแจ้งเตือน