เทลั่มทอล์กทู...Stéphane Delfour, หัวหน้าสำนักข่าว Agence France-Presse ประจำกรุงเทพ
Interview

เทลั่มทอล์กทู...Stéphane Delfour, หัวหน้าสำนักข่าว Agence France-Presse ประจำกรุงเทพ

ช่วยแนะนำตัวหน่อย
ผมเป็นผู้สื่อข่าวอายุ 48 ปีและยังเป็นนักพัฒนาธุรกิจให้กับสื่ออีกด้วย ผมมีความรักและสนใจเกี่ยวกับการใช้ชีวิตในช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงในยุคนี้ มันเป็นอะไรที่ซับซ้อนและค่อนข้างเสี่ยงในหลายๆทางแต่นั่นก็หมายถึงมีโอกาสต่างๆมากมายอีกด้วยซึ่งก็เป็นเรื่องที่ท้าทายและน่าตื่นเต้นในเวลาเดียวกัน ช่วงไหนที่ผมมีเวลาผมก็จะใช้เวลากับครอบครัวของผม, เล่นเทนนิส, ชมงานศิลปะต่างๆให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้และผมเองก็ยังเป็นชาวฟูดดี้เพราะยังไงมันก็อยู่ในสายเลือดของคนฝรั่งเศสอย่างผมอยู่แล้ว นอกเหนือไปจากนั้นบ้านหลังใหม่ของผมที่กรุงเทพก็เป็นดั่งสวรรค์ของเหล่าคนรักอาหารอีกด้วย ผมรอคอยวันเวลาให้เมืองไทยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติเมื่อสถานการณ์โควิดได้ผ่านพ้นไป

คุณเริ่มงานในสายงานสื่อตั้งแต่เมื่อไรช่วยเล่าให้เราฟังเพิ่มเติมเกี่ยวกับเส้นทางของคุณ
ผมเริ่มงานกับ Agence France-Presse ​​​​​​เมื่อปี พ.ศ. 2541 หลังจากที่ผมจบการศึกษาจากโรงเรียนด้านสื่อสารมวลชนในกรุงปารีส ในตอนนั้นผมได้รับมอบหมายให้ร่วมทีมผู้ประกาศข่าวที่ทำงานเป็นพาร์ทเนอร์กับบลูมเบิร์กทีวี  ผมทำงานอยู่ในตำแหน่งนั้นอยู่สามปีด้วยกันและหลังจากนั้นก็ได้รับการเทรนให้ทำงานเป็น Video Journalist ให้กับ AFP เพราะในตอนนั้นทางบริษัทตัดสินใจที่จะจัดตั้ง Video Department ขึ้นเพื่อที่จะรายงานข่าวให้กับลูกค้าของเรา
ตอนนั้นพวกเรามีกันอยู่ไม่กี่คนแต่ตอนนี้ทาง AFP้ ของเรามีกันอยู่ถึง 1,700 ชีวิตทั่วโลกซึ่งนักข่าวของเราก็ได้ทำหน้าที่รายงานคอนเทนท์ข่าวคุณภาพให้กับหลายๆองค์กรเช่น KBS จากประเทศเกาหลีใต้, BBC และ CNN
เนื่องจากเรามีออฟฟิศทั่วโลกมากถึง 200 สาขาทำให้เราที่ทำงานกับทางAFPนั้นหมายถึงการได้มีโอกาสเดินทางไปประจำทำงานอยู่หลายๆที่ทั่วโลกถ้าคุณประสงค์ที่จะไปและสามารถที่จะโยกย้ายแหล่งพำนักของคุณได้ ตัวผมได้ประจำอยู่ที่กรุงวอชิงตันดีซีถึงสามปีในช่วงเวลาของประธานาธิบดีบารัค โอบาม่าสมัยแรกซึ่งก็เป็นปีแรกของ AFP ที่มีการเปิดตัวโอเปอเรชั่นต่างประเทศด้วย หลังจากนั้นผมได้ย้ายไปประจำที่บรัสเซลซึ่งที่นั่นผมก็ได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับสถาบันของทางกลุ่มประเทศอียูในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายวิดีโอให้กับทางAFP-Servicesซึ่งเป็นแบรนด์ภายใต้AFP ก่อนที่จะย้ายมาประจำที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปีที่แล้วผมก็ได้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าทีมของวิดีโอที่ประเทศฝรั่งเศสอยู่ห้าปีด้วยซึ่งก็เป็นช่วงเวลาที่มีดิสรัปชั่นเกิดขึ้นในฝรั่งเศสมากมายเช่นเหตการณ์การก่อการร้ายที่ปารีสในปี พ.ศ.2558, การเลือกตั้งประธานาธิบดีมาครงในปี พ.ศ.2560 หรือการเคลื่อไหวทางสังคมของกลุ่มเสื้อกั๊กเหลืองในปี พ.ศ.2561 ซึ่งในช่วงปีหลังๆในการรายงานข่าวที่ฝรั่งเศสก็ถือว่าเป็นปีที่หนักที่สุดในชีวิตและได้เรียนรู้อะไรมากมายเลยทีเดียว

คุณมีหน้าที่รับผิดชอบด้านใดบ้างในตำแหน่งของคุณ เราได้ยินมาว่าคุณดูแลในส่วนของ AFP-Servicesด้วย
ผมทำหน้าที่เป็นหัวหน้าสำนักข่าว AFP กรุงเทพซึ่งก็เป็นสำนักงานหลักของเราในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผมดูแลทีมกว่า 40 ชีวิตในสำนักข่าว AFP ในเวียดนาม, พม่าและกัมพูชา สำนักข่าวของเราในภูมิภาคนี้มีทั้งนักข่าว, ช่างภาพและ Video Journalist โดยเราก็มีหลายหน่วยงานที่ทำงานร่วมกับเราอย่าง ไอที, ทีมจัดการบริหารและฝ่ายขาย ส่วนตัวผมจะโฟกัสในเรื่องของการพัฒนาธุรกิจ, นวัตกรรม, การพัฒนาบุคคลากรและการเงิน การนำเสนอข้อมูลที่น่าเชื่อถือและรวดเร็วเป็นหัวใจสำคัญของสำนักข่าวระดับโลกอย่าง AFP ผมเชื่อว่าหน้าที่ของเราคือการนำเสนอข้อมูลข่าวสารให้ครอบคลุมมากที่สุดในภูมิภาค ซึ่งนั่นก็หมายถึงว่าการที่เราจะต้องมีการติดต่ออย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอกับแหล่งข่าวของเรารวมถึงการที่เราตั้งใจฟังและเข้าใจในความต้องการของลูกค้าของเราและรักษาคุณภาพและประสิทธิภาพของผู้สื่อข่าวที่เราส่งไปประจำในพื้นที่ที่จะต้องสามารถผลิตเนื้อหาที่มีความแปลกใหม่และมีนัยยะสำคัญให้กับเรื่องราวที่เรานำเสนอรวมถึงความสามารถในการตัดสินใจอย่างชาญฉลาดอีกด้วย
ในส่วนของ AFP-Services ซึ่งเป็นหน่วยงานย่อยของAFPเป็นส่วนของคอนเทนท์โปรดักชั่นซึ่งเป็นส่วนที่แยกออกมาต่างหากจากหน่วยงานข่าว ในส่วนของบทบาทหน้าที่ของผมก็คือการช่วยบริษัทพัฒนากิจกรรมต่างๆในภูมิภาคนี้รวมถึงในส่วนของ AFP-Services ด้วย ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทาง AFP-Services ได้ร่วมมือกับเอเจนซี่ท้องถื่นในการที่จะนำเสนอแบรนด์คอนเทนท์โซลูชั่นตั้งแต่ต้นจนจบที่มีความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจ, หน่วยงานเอ็นจีโอและสถาบันต่างๆ และด้วยเศรษฐกิจแบบดิจิตัลที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วเราก็จะเห็นความต้องการที่มากขึ้นของผู้ที่สามารถผลิตคอนเทนท์มัลติมีเดียที่มีคุณภาพสูงที่จะสามารถเข้าถึงและดึงดูดผู้คนได้ จุดมุ่งหมายของ AFP-Services ก็คือการที่จะช่วยธุรกิจเหล่านี้ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านนี้ เราเชื่อว่าตลาดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความคึกคักและผลตอบรับจากกลยุทธ์แรกของเราก็ดูมีความหวังอยู่มาก

เราได้ยินมาว่าทางสำนักข่าว AFP มีโปรเจคต่างๆอยู่หลายโปรเจค มีอะไรที่สามารถแชร์ให้กับเราได้บ้าง
ผมบอกได้ว่าตอนนี้ทางสำนักข่าวเราทั่วโลกกำลังจะเปิดตัวเว็บไซต์ใหม่ www.afp.com ซึ่งเว็บไซต์ใหม่นี้จะเพิ่มขีดความสามารถในการโชว์คอนเทนท์ของเราได้มากขึ้น ในส่วนของโปรเจคในภูมิภาคของเรานี้ เรามีโปรเจค Photo Contest ในประเทศลาวซึ่งจะเป็นโปรเจคที่มีขึ้นตลอดทั้งปี พ.ศ.2563 โดยใครก็สามารถเข้าร่วมโปรเจคนี้ได้ โปรเจคนี้เริ่มต้นมาจากทางสถานฑุตฝรังเศสในประเทศลาวร่วมกับสำนักข่าว AFP ซึ่งทางเราจะทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสินและนำภาพที่ชนะเลิศมาลงในเว็บไซต์ของเรา นอกจากนั้นเรายังทำงานร่วมกับสื่ออื่นในการพัฒนาเวิร์กช็อปและการประชุมสัมนาเกี่ยวกับ fake news อีกด้วย อันที่จริงเราเลิกใช้คำว่า fake news และเราเห็นว่าคำว่า fact-checking จะเป็นคำที่เหมาะสมกว่าหรือคำว่า digital verification หรือการตรวจสอบแบบดิจิตัล ผมคิดว่าเราสามารถพูดได้ว่าตอนนี้ทางสำนักข่าว AFP เป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญหลักทางด้านนี้

ช่วยเล่าให้เราฟังเกี่ยวกับ AFP Fact Check
AFP Fact Check blog มีการเปิดตัวไปเมื่อต้นปี พ.ศ.2561 ซึ่งก็เป็นการเปิดตัวเพื่อตอบรับกระแสข่าวปลอมบนโซเชียลมีเดีย เราตั้งใจที่จะช่วยให้ประชาชนและสื่อได้รับข้อมูลที่ถูกต้องบนอินเตอร์เน็ตไม่ว่าจะเป็นจากช่องทางโซเชียลมีเดีย, บทความข่าว, วิดีโอหรือการแถลงการณ์หรือข้อความต่างๆ ตอนนี้เรามีบล็อกเช็คข่าวในทั้งหมด 30 ประเทศและมีการลงเนื้อหาทั้งหมด 11 ภาษาคือภาษาอังกฤษ, ภาษาฝรั่งเศส, ภาษาสเปน, ภาษาโปแลนด์, ภาษาเช็ก, ภาษาสโลวัก, ภาษาโปรตุเกส, ภาษาอาราบิค, ภาษาอินโดนีเซีย, ภาษามาเลและภาษาไทย ในประเทศไทยที่เราได้เริ่มบล็อกนี้เป็นภาษาไทยขึ้นเมื่อช่วงเดือนพฤศจิกายนปีที่ผ่านมา ตอนนี้เราตีแพ่เรื่องราวเกือบทั้งหมดห้าสิบเรื่องแล้ว นอกจากนี้เราก็ยังวางแผนที่จะเปิดเพิ่มในหลายๆประเทศในปีนี้ ผมยังมีตัวอย่างงานที่เราทำในส่วนของรายงานที่เกี่ยวกับสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19และมีการอัปเดตอย่างต่อเนื่องตามลิ้งนี้ https://factcheck.afp.com/debunks-novel-coronavirus-prevention-cures-treatments

มีความท้าทายใดบ้างที่คุณเผชิญในบทบาทขององค์กรที่อยู่ในยุคของดิจิตัลดิสรัปชั่น
จริงๆแล้วมันก็เป็นที่รู้กันอยู่ว่าตอนนี้วงการสื่อกำลังเผชิญกับวิกฤตการครั้งใหญ่ ผู้รับชมสื่อก็หันไปเสพสื่อจากช่องทางอื่นที่ไม่ใช่ช่องทางแบบเก่า, งบโฆษณาก็มีแนวโน้มแต่จะลดลงและข่าว (ไม่ว่าจะเป็นข่าวที่ดีมีคุณภาพหรือไม่)ก็สามารถหาอ่านได้ตามช่องทางออนไลน์ได้ตลอดเวลาและโดยส่วนใหญ่ก็จะสามารถเข้าถึงได้อย่างไม่ต้องเสียเงิน ดังนั้นสิ่งที่เราพบเจอในช่วงหลายปีที่ผ่านมาก็คือมูลค่าตลาดของคอนเทนท์ก็ตกลงเป็นอย่างมาก และมันหมายถึงอะไรล่ะสำหรับสำนักข่าว (news agency) ที่รูปแบบทางธุรกิจคือการขายยอดสมัครสมาชิก (subscription)ให้กับสื่ออีกที มันหมายถึงว่ารายได้ของสำนักข่าวเหล่านั้นก็หดหายไปหากว่าพวกเขาไม่มีการปรับตัวที่ทันท่วงที ความท้าทายที่สำคัญคือการเปลี่ยนจากวัฒนธรรมของสื่อสิ่งพิมพ์ไปเป็นวัฒนธรรมแบบดิจิตัลซึ่งก็รวมถึงทำให้กิจกรรมเกิดความหลากหลาย, อัปเดตเทคโนโลยีของคุณ, พัฒนาบุคคลากรและทำให้องค์กรของคุณมีความคล่องตัวต่อการเปลี่ยนแปลง
เพื่อให้เห็นภาพที่ AFP เราเชื่อว่าวิชชวลหรือภาพนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากต่อการรายงานข่าว ในสำนักข่าวของเราในหลายๆประเทศไม่ใช่แค่ที่สำนักข่าวที่กรุงเทพพนักงานทุกคนไม่ใช่แค่นักข่าวจะได้รับการเทรนถ่ายภาพและถ่ายวิดีโอ, ตัดต่อและส่งไฟล์ (หรือแม้กระทั่งไลฟ์สด) สำหรับเหตุการณ์ด่วนโดยใช้เพียงมือถือของพวกเขา ในไม่กี่ปีนี้ทีมวิดีโอของเราซึ่งก็คือทีม AFPTV ได้กลายเป็นตัวอย่างและแหล่งเรเฟอเรนซ์ระดับโลกในอุตสหกรรมบรอดคาสต์และนี่ยังเป็นโอกาสการตอบโตอย่างสำคัญของ AFP ​​​ด้วย

อะไรเป็นกลยุธหรือเครื่องมือที่ทาง AFP ​​​​​ใช้ในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มผู้ชมโดยเฉพาะผู้ติดตามที่มีช่วงอายุที่น้อยลง
สิ่งที่เราพยายามที่จะทำคือการเปลี่ยนแปลงวิธีการที่จะเข้าหาและจัดการกับเรื่องราวที่เราจะนำเสนอ ยกตัวอย่างเช่นการรายงานเกี่ยวกับเรื่องมลพิษทางขยะพลาสติก ถ้าเป็นหลายปีก่อนเราคงจะเขียนบทความที่มีเนื้อหาน่าสนใจที่มีความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญที่เก่งที่สุดมาบอกเราว่าเรากำลังเผชิญอะไรอยู่และมีตัวเลขอ้างอิงมากมาย ขณะที่ในปัจจุบันนี้เราก็ยังต้องการความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญเหล่านั้นแต่เราจะมีแนวทางการนำเสนอที่จะมีการเล่าเรื่องแบบมีบุคคลเป็นศูนย์กลาง เช่นเรื่องราวเหล่านี้กระทบกับตัวเรายังไงในฐานะที่เราเป็นมนุษย์คนนึงและเราสามารถทำอะไรได้บ้างในสถานการณ์แบบนี้ ช่วงฤดูร้อนปีที่แล้วเราบอกเล่าเรื่องราวของเด็กสาวไทยคนหนึ่งที่ชื่อว่าลิลลี่ เธอพายเรือไปตามคลองของกรุงเทพทุกๆสุดสัปดาห์เพื่อเก็บขยะในคลอง เรารายงานเรื่องนี้ผ่านทาง Visual format ซึ่งเรามองเห็นว่าเรื่องราวนี้ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากบรรดาลูกค้าของเรา มันไม่ได้หมายถึงว่าเราจะต้องรายงานเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพียงอย่างเดียวแต่มันหมายถึงว่าเมื่อเรามีบุคคลที่น่าสนใจมีคาแรคเตอร์ที่น่าสนใจและมีหัวข้อที่เข้มแข็งพอและมีแพลตฟอร์มที่สร้างสรรค์และทันสมัยที่จะใช้ในการบอกเล่า นั่นก็น่าจะหมายถึงว่าเราจะสามารถเข้าถึงกลุ่มของผู้รับชมที่มีอายุน้อยลงได้ เราก็ได้ระบุหัวข้อใหญ่ๆหลายๆหัวข้อที่เราอยากจะโฟกัสให้มากขึ้นตัวอย่างเช่นก็จะมีอนาคตของโลก, ยุคดิจิตัล, ความไม่เท่าเทียม
เพื่อเป็นการตอบข้อกังวลของกลุ่มลูกค้าของ AFP ที่มีความกังวลในเรื่องของกลุ่มผู้รับชมหรือผู้ติดตามที่หันไปติดตามโซเชียลมีเดียเพื่อตามข่าวสารแทนการติดตามจากช่องทางแบบดั้งเดิม ทางเราเลยได้มีการเปิดตัวกลุ่ม
 “New Audiences” ไปเมื่อปีที่แล้ว โดยบทบาทหน้าที่ของมันคือการช่วยให้โปรดักชั่นของ AFP ตอบโจทย์ต่อความต้องการในช่วงเวลานั้น โดยกลุ่มนี้จะประกอบไปด้วยนักข่าวทั้งหมด 10 คน โดยได้รับการมอบหมายจาก Regional Editor-in-Chief เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่าความหลากหลายของพนักงานของเราและเพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้มีพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็นมากขึ้น

ในช่วงเวลาของการแพร่ระบาดของโควิด-19 คุณมีการจัดการบริหารทีมของคุณอย่างไร ช่วยเล่าให้เราฟังเกี่ยวกับการจัดการสถานการณ์โดยรวมของAFP 
สถานการณ์นี้เป็นสถานการณ์ที่เราไม่เคยพบเจอมาก่อนและการที่ต้องรับมือกับมันในฐานะผู้บริหารก็มีความท้าทายเป็นอย่างมาก ประสบการณ์กับช่วงเวลาวิกฤตในอดีตก็มีประโยชน์อยู่บ้างแต่นั่นก็ยังไม่เพียงพอ ผมว่าจุดหลักสำคัญเลยคือการสื่อสารกับคนในทีม โดยเฉพาะเมื่อต้องทำการตัดสินใจในประเด็นใหญ่ๆที่เกี่ยวข้องกับกฎและการปฏิบัติตนในช่วงนี้ควรจะทำการตัดสินใจเด้วยกันโดยให้ความสำคัญกับสุขภาพก่อนเป็นหลัก ในช่วงแรกเราเตรียมหน้ากากและเจลล้างมือทำความสะอาดให้เพียงพอ เราแจกจ่ายของเหล่านี้ไปให้พนักงานในออฟฟิศและมีให้ใช้ได้ในออฟฟิศของเรา ต่อมาเราก็ใช้กฎใหม่ในการกักตัวสำหรับหนักงานที่เพิ่งเดินทางกลับมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยงหรือจะเป็นการเปิดประตูออฟฟิศทิ้งไว้เพื่อให้ลดการสัมผัสให้น้อยที่สุด หลังจากนั้นเมื่อสถานการณ์ในประเทศไทยยกระดับมากขึ้นเราก็ได้ออกประกาศให้พนักงานทำงานจากบ้านเพื่อเป็นทางเลือกให้กับพนักงานที่ไม่อยากเข้ามาที่ออฟฟิศจนในที่สุดทางรัฐบาลประกาศให้ทำงานจากบ้านในวันที่ 22 มีนาคมที่ผ่านมา นอกจากนั้นเรายังออกแนวทางการปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของตากล้องและช่างกล้องของเราซึ่งจะเป็นกลุ่มที่เสี่ยงที่สุดในตอนนี้ ในบางกรณีที่เราเห็นว่ามีความเสี่ยงสูงเราก็จะตัดสินใจที่จะไม่ลงพื้นที่จุดนั้นเพื่อแลกกับคอนเทนท์

รัฐบาลออกกฏหมายพิเศษและแนะนำให้หนักงานทำงานจากบ้านในช่วงนี้ จากนโยบายดังกล่าวส่งผลกระทบหรือสร้างความท้าทายด้านใดบ้างให้กับสื่อ
อย่างที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ว่าทางเอแอฟพี ได้ออกกฏให้พนักงานทำงานจากบ้านก่อนหน้าที่รัฐบาลจะออกประกาศเสียอีกแต่ก็แน่นอนว่าในฐานะนิวส์เอเจนซี่อย่างเรามันก็มีผลกระทบและมีความท้าทายอยู่แล้วซึ่งเราก็พยายามทำงานอย่างหนักในการที่จะปรับตัวให้เข้ากับมาตราการใหม่นี้ อย่างแรกที่เราทำคือการออกเป็นระเบียบการดำเนินการขององค์กรที่จะรับรองได้ว่าการทำงานและธุรกิจของเราจะดำเนินการต่อไปเพราะแน่นอนว่าเราจะไม่สามารถที่จะหยุดรายงานข่าวไปได้ โดยข้อปฏิบัติต่างๆที่ผมได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ก็มีส่วนช่วยได้มากอยู่เช่นการสัมภาษณ์ของนักข่าวจะมีการทำโดยผ่านช่องทาง Skype, ให้ตากล้องของเราได้ใช้ถุงมือและแว่นตาป้องกันและในบางโอกาสก็อาจจะเป็นชุดป้องกันทั้งตัวเพื่อความปลอดภัยของพวกเขา นอกจากนี้ก็ยังมีความท้าทายในส่วนของเทคโนโลยีเนื่องจากการรายงานข่าวและส่งข่าวขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีเป็นหลักดังนั้นมันเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่จะให้พนักงานทุกคนได้มีแล็ปท็อปและอินเตอร์เน็ตที่ไว้ใจได้ไม่ว่าจะเป็นผ่านทางมือถือหรือที่บ้านของพวกเขาที่จะสามารถทำงานได้ นอกเหนือไปจากนั้นเราก็ต้องมั่นใจว่าเซอร์เวอร์ของเราได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดอีกด้วย ความท้าทายด้านการบริหารจัดการอีกด้วย เราต้องมั่นใจว่าเราจะสามารถทำงานเอกสารได้ตรงตามเวลา ไม่ว่าจะเป็นการเซนต์เอกสารหรืออนุมัติงานด้านต่างๆ และสุดท้ายคือความท้าทายด้านบุคคลากรคือทำอย่างไรที่เราจะยังสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างเป็นทีมในขณะที่พวกเขาต้องทำงานจากบ้าน สุดท้ายทุกอย่างก็คือการสื่อสารซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในเวลานี้ การประชุมผ่านทางวีดีโอคอนเฟียแรนซ์เป็นประจำก็เป็นเรื่องจำเป็นแต่ผมเองก็พยายามที่จะโทรหาหรือสื่อสารกับพนักงานเป็นรายบุคคลเนื่องจากผมไม่อยากให้พวกเขารู้สึกว่าเขาถูกทอดทิ้งและยังทำให้พวกเขาได้มีกำลังใจที่ดีอีกด้วยซึ่งในระยะยาวนี่ก็อาจจะเป็นเรื่องหนึ่งที่เสี่ยงมากก็เป็นได้

More stories


Telum Media

ฐานข้อมูล

นักข่าว
Stéphane Delfour

South-East Asia Bureau Chief

สำนักสื่อ
Agence France-Presse Bangkok

15 contacts

Get in touch to hear more

ขอดูการสาธิต

Telum Media

การแจ้งเตือน

Regular email alerts featuring the latest news and moves from the media industry across Asia Pacific Enjoy exclusive daily interviews with senior journalists and PRs as well as in-house editorial and features from the Telum team

สมัครรับการแจ้งเตือน