Reuters Institute ได้เผยแพร่
รายงานข่าวดิจิทัลประจำปี 2023 ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ Reuters Institute
โดยเนื้อหาสำคัญที่ค้นพบในรายงานจากประเทศไทย มีดังนี้
- ข่าวและละครยังคงเป็นรายการซึ่งเป็นที่นิยมมากที่สุดของคนไทย
- โฆษณาบนแพลตฟอร์ม OTT TV และบริการสตรีมมิ่งมีอัตราเพิ่มขึ้น ในขณะที่วิดิโอสั้นบน Facebook, YouTube, และ TikTok ก็ได้รับความสนใจและเติบโตมากขึ้นเช่นกัน โดยสำนักข่าวส่วนใหญ่ที่มีช่องทางออนไลน์ ต่างก็มีช่องทางอยู่บนทั้ง 3 แพล็ตฟอร์มนี้
- โฆษณายังคงเป็นโมเดลธุรกิจหลักสำหรับสำนักข่าว โดยเฉพาะโฆษณาบนหน้าเว็บไซต์ และการวางขายสินค้าในรายการทีวีก็มีการปฎิบัติกันอย่างแพร่หลาย โฆษณาบนสื่อสิ่งพิมพ์ลดลงควบคู่ไปกับยอดพิมพ์ และการจ่ายค่าสมาชิกเพื่ออ่านข่าวออนไลน์นั้นหาได้ยากมากในเมืองไทย
- คนไทยเลือกที่จะรับชมข่าวสารผ่านการดูตามช่องทางออนไลน์ มากกว่าการอ่านหรือการฟัง ซึ่งทำให้สื่อที่มีแบ็คกราวน์เริ่มต้นมาจากสิ่งพิมพ์สร้างการมีส่วนร่วมกับกลุ่มผู้ชมผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่นได้ยากขึ้น
- ในแง่ของแหล่งข้อมูลข่าวสาร คนไทยพึ่งพิงสื่อออนไลน์และโซเชียลมีเดียเป็นอย่างมาก คิดเป็น 88% และ 75% ตามลำดับ ในขณะที่ 50% ยังคงติดตามข่าวสารจากทีวี และ 12% ยังคงอ่านสื่อสิงพิมพ์ ซึ่งตัวเลขเหล่านี้ไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนัก หรือแทบจะคงเดิมเมื่อเทียบกับผลสำรวจในปี 2022 และปี 2021
- โซเชียลมีเดียแพล็ตฟอร์มที่ยังคงความสำคัญได้แก่ Facebook, YouTube, Line, และ TikTok โดย Facebook ยังคงครองตำแหน่งโซเชียลมีเดียและแอปส่งข้อความที่มีผู้ใช้มากที่สุดในการติดตามและแชร์ข่าว (65%) ตามมาด้วย YouTube (54%) และ Line (48%)
- ทางด้านผู้ใช้งาน TikTok ได้มีการเติบโตขึ้นอีกในปีนี้ โดยครึ่งหนึ่งของกลุ่มสำรวจ (51%) ได้ใช้แพล็ตฟอร์มนี้สำหรับวัตถุประสงค์ต่างๆ และ 30% ใช้ TikTok ในการติดตามข่าว ซึ่งเถิ่มขึ้น 8% จากผลสำรวจเมื่อปีที่แล้ว ทั้งนี้ ในขณะที่กลุ่มคนไทยอายุน้อยยอมรับแพลตฟอร์มนี้ ผู้บริโภคข่าวกลุ่มอื่น ๆ บริโภคข่าวในรูปแบบวิดีโอที่ยาวขึ้นผ่าน YouTube
- คะแนนความน่าเชื่อถือของข่าวโดยรวมในปีนี้อยู่ที่ 51% ซึ่งลดลงจาก 53% ในปี 2022 ถือว่าคะแนนยังมีความคงที่และค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ (ลำดับที่ 9 จาก 46 ประเทศที่ทำการสำรวจ)
- จากผลสำรวจในปีนี้พบว่าช่องทีวีมีแนวโน้มได้รับความไว้วางใจสูงกว่าหนังสือพิมพ์ โดยช่อง 7 HD (71%) ไทยพีบีเอส (70%) และ Workpoint TV (71%) เป็นแบรนด์สื่อที่ได้รับความไว้วางใจสูงสุด 3 อันดับแรก (เชิงอรรถจากรายงาน - คะแนนเป็นการตัดสินของผู้ตอบแบบสอบถามและเป็นการรวบรวมความคิดเห็นของสาธารณชน และไม่ควรถูกใช้เป็นรายชื่อสื่อที่น่าเชื่อถือมากที่สุดหรือน้อยที่สุด)
สำหรับสื่อออฟไลน์ ได้แก่ ทีวี วิทยุ และสิ่งพิมพ์นั้น ช่อง 3 HD สามารถเข้าถึงผู้ชมได้สูงที่สุด คือ 31% รองลงมาคือ ไทยรัฐทีวี 32 ที่ 31%, อมรินทร์ทีวี HD 34 ที่ 28%, ช่อง 7 HD ที่ 26% และหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ที่ 24%
ด้านสื่อออนไลน์ ไทยรัฐออนไลน์มียอดการเข้าถึงผู้อ่านสูงที่สุดในสื่อประเภทออนไลน์ คือ 43% โดยไทยพีบีเอสออนไลน์ตามมาเป็นอันดับสองที่ 25% เวิร์คพอยท์ทูเดย์ (สำนักข่าวทูเดย์) ที่ 24% ข่าวสดออนไลน์ และพีพีทีวีออนไลน์ ที่ 23% และ 20% ตามลำดับ
สามารถอ่านรายงานฉบับเต็มเกี่ยวกับผลสำรวจแวดวงสื่อของประเทศไทยได้
ที่นี่ หรืออ่านภาพรวมและการค้นพบที่สำคัญของรายงานข่าวดิจิทัลประจำปี 2023 ได้จาก
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร หรือดูวิดีโอสรุปความยาว 2 นาที บนช่อง YouTube อย่างเป็นทางการของ Reuters Institute ได้
ที่นี่