ในทุก ๆ ปี จะมีสื่อใหม่เกิดขึ้น และในปี 2565 ที่ผ่านมา ก็มีสถานีวิทยุ สื่อธุรกิจเพื่อการค้า นิตยสารไลฟ์สไตล์ เปิดตัวในอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทยเช่นกัน
เทลั่ม มีเดีย จึงขอสรุปรายชื่อสื่อใหม่น่าจับตามองที่เกิดขึ้นในแต่ละประเทศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา พร้อมเหตุผลว่าทำไมสื่อเหล่านี้ถึงถูดจัดเป็นสื่อใหม่น่าจับตามองประจำปี 2566
อินโดนีเซีย:
- Indonesia Business Post: สื่อออนไลน์ที่นำเสนอบทสัมภาษณ์พิเศษ และข้อมูลเกี่ยวกับซอฟต์แวร์การทำธุรกิจ รวมถึงการสอบทานธุรกิจในแวดวงต่าง ๆ ซึ่งเปิดตัวไปเมื่อเดือนเมษายน 2565 ที่ผ่านมา เพื่อเป็นแหล่งข้อมูล ที่นำเสนอความชัดเจนทางธุรกิจ-การเมือง ให้กับบริษัทต่างชาติในอินโดนีเซีย มุ่งเน้นบรรเทาและประเมินความเสี่ยงทางการเมืองที่อาจส่งผลต่อการค้าระหว่างประเทศ โดยสมาชิกผู้สื่อข่าวในทีมประกอบไปด้วยผู้สื่อข่าวอาวุโสมากมาย อาทิ Agustinus Beo Da Costa ซึ่งเป็นอดีตนักข่าวจาก Reuters
- Aqua Indonesia: นิตยสารการค้าในกรุงจาการ์ตา นำเสนอข้อมูลด้านการเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์น้ำ เช่น อุตสาหกรรมการเลี้ยงปลา การประมง กุ้ง สาหร่าย และอีกมากมาย โดยเปิดตัวไปเมื่อเดือนมิถุนายน 2565 เนื่องด้วยไม่ค่อยมีสื่อที่นำเสนอการเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์น้ำมากนัก Aqua Indonesia จึงมุ่งเน้นนำเสนอข้อมูลสำหรับคนที่ทำงานในอุตสาหกรรมดังกล่าว รับชม Telum Excusive: 5 things to know about Aqua Indonesia จาก Farid Dimyati บรรณาธิการนิตยสาร สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
มาเลเซีย:
- Molek FM: สถานีวิทยุใหม่ภายใต้ Media Prima Audio เปิดตัวเมื่อเดือนมกราคม 2565 นำเสนอข่าวสารและข่าวคราววงการบันเทิงในมาเลเซียตะวันออก นำทีมโดย Nik Nor Azura Nik Mahmood ผู้อำนวยการเน็ตเวิร์กคอนเทนต์ มุ่งเน้นให้ความสำคัญด้านศิลปะ วัฒนธรรม เพลง มรดก และประเพณีท้องถิ่นของมาเลเซียตะวันออก โดยปัจจุบันสามารถรับฟังได้ในเมืองโกตาบารู กลันตัน กัวลาเตอเริงกานู และกวนตัน
- decentralyze.io: ช่องทางข่าวสารเกี่ยวกับ Web 3.0 และ blockchain ซึ่งเปิดตัวเมื่อเดือนกันยายน 2565 ภายใต้ Asia Online Publishing Group นำเสนอรายงานข่าวและข้อมูลในมุมมองต่าง ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีการกระจายข้อมูลที่ส่งผลต่อมนุษย์ ธุรกิจ และการเงินทั่วโลก เว็บไซต์ดังกล่าว มุ่งอัปเดตนวัตกรรมและคอนเซ็ปต์ล่าสุดเกี่ยวกับ “ก้าวต่อไปของอินเทอร์เน็ต” จากมุมมองโลก นอกจากนี้ ยังมีบทสัมภาษณ์ สัมมนาออนไลน์ แบบสำรวจ บทวิเคราะห์ รวมถึงไกด์ไลน์ และบทความเพื่อการศึกษา โดยมี Harith Hela Ladin ผู้ช่วยกองบรรณาธิการเว็บไซต์ รับผิดชอบดูแลภาพรวมการนำเสนอข่าว
ฟิลิปปินส์:
- Republic Asia: สื่อดิจิทัลสมัยใหม่ นำเสนอข่าวสาร ประเด็นสำคัญ ความเคลื่อนไหวทางการเมือง และอัปเดตต่าง ๆ ซึ่งเปิดตัวไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565 ในกรุงมะนิลา นำทีมโดย Gerry Lirio บรรณาธิการ และนักข่าวมากประสบการณ์ มุ่งเสริมสร้างแรงบันดาลใจให้กับชาวฟิลิปปินส์ โดยเฉพาะ กลุ่ม Millenials และ Gen Z ด้วยการนำเสนอ กลยุทธ์ ฟีเจอร์ และเรื่องราวจากแวดวงต่าง ๆ โดยเป็นแพลตฟอร์มที่คนรุ่นใหม่สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้อย่างอิสระ โดยสามารถอ่านโปรไฟล์สื่อเพิ่มเติมได้ที่นี่
- The Rivalry: สื่อกีฬาออนไลน์ นำเสนอบทความ บทวิเคราะห์ สถิติ การนับคะแนน และตารางการแข่งขันในวงการบาสเกตบอล วอลเลย์บอล ฟุตบอล สนุกเกอร์ พูล บิลเลียด และอีกมากมาย โดยเปิดตัวไปเมื่อเดือนกันยายน 2565 ก่อตั้งด้วยการรวมตัวของกลุ่มนักข่าวกีฬามากความสามารถ นำโดย Sid Ventura ผู้ก่อตั้ง / หัวหน้าบรรณาธิการ ซึ่งจะมีการเปิดตัวพอดแคสต์เร็ว ๆ นี้
สิงคโปร์:
- Jom: นิตยสารออนไลน์รายสัปดาห์เกี่ยวกับศิลปะ วัฒนธรรม การเมือง ธุรกิจ เทคโนโลยี และอื่น ๆ ในสิงคโปร์ เปิดตัวเมื่อเดือนสิงหาคม 2565 ให้ความสำคัญกับการนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องถี่ถ้วนสำหรับผู้ที่สนใจในสิงคโปร์ ผ่านบทความที่เรียบเรียงมาอย่างดี และเปิดรับฟังความเห็นต่าง นำทีมโดย Sudhir Vadaketh บรรณาธิการ Charmaine Poh หัวหน้าทีมวิชวลคัลเจอร์และมีเดีย รวมถึง Tsen-Waye Tay หัวหน้าทีมคอนเทนต์ ติดตามบทสัมภาษณ์ก่อนหน้านี้ และการเปิดตัวพอดแคสต์ได้เร็ว ๆ นี้
- Blockhead: เดิมชื่อ Bread เป็นมีเดียขับเคลื่อนสังคมเกี่ยวกับ Web 3.0 โดยเปิดตัวภายใต้ชื่อใหม่เมื่อเดือนเมษายน 2565 ที่ผ่านมา มุ่งเจาะกลุ่มเป้าหมายที่สนใจใน cryptocurrency และ fintech นอกจากนี้ ยังมี RICE Media ในเครือเดียวกัน ที่ผลิตคอนเทนต์เกี่ยวกับนวัตกรรม Web 3.0 ด้านเทคโนโลยี วัฒนธรรม และธุรกิจ ในเอเชียเป็นหลัก
ไทย:
- The Next Chapter: รายการใหม่จาก The People เปิดตัวเมื่อเดือนตุลาคม 2565 ในรูปแบบการสัมภาษณ์ ดำเนินรายการโดย อนันต์ ลือประดิษฐ์ บรรณาธิการบริหาร The People ซึ่งจะเชิญแขกรับเชิญที่มีความน่าสนใจในอุตสหกรรมสาขาต่าง ๆ มาร่วมพูดคุยภายใต้ธีมหลักคือการสร้างเศรษฐกิจแบบสร้างสรรค์โดยมีซอฟต์พาวเวอร์ (soft power) เป็นตัวขับเคลื่อน โดยซอฟพาวเวอร์ เป็นหัวข้อที่ถูกพูดถึงเป็นอย่างมากในหลายประเทศ เนื่องจากสามารถเพิ่มความสามารถในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และเพิ่มอิทธิพลด้านศิลปะและ pop culture ในระดับชาติได้เป็นอย่างดี โดยตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนสำหรับประเทศไทย ได้แก่ Milli แร็ปเปอร์ชาวไทยจากการขึ้นแสดงเพลง "Mango Sticky Rice" ในงาน Coachella และรับประทานข้าวเหนียวมะม่วงบนระหว่างการแสดง ทำให้ยอดขายข้าวเหนียวมะม่วงเพิ่มสูงขึ้นในเวลาต่อมา และเนื่องด้วยซอฟต์พาวเวอร์ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง รายการ The Next Chapter จึงเป็นอีกรายการใหม่ที่น่าจับตามองในฐานะสื่อที่ช่วยทำหน้าที่ค้นหา ตลอดจนขับเคลื่อนไอเดียและกระบวนการของมูฟเมนต์ดังกล่าว
- Bangkok TODAY: แพลตฟอร์มออนไลน์จาก workpointTODAY ที่มุ่งเน้นนำเสนอไลฟ์สไตล์ ศิลปะ วัฒนธรรม และการท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร ผ่านคลิปวิดีโอภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน เพื่อเป็นศูนย์รวมข้อมูลสำหรับนักท่องที่ยวทั่วโลกที่ต้องการศึกษาและเรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับกรุงเทพมหานครในแง่มุมต่าง ๆ อย่างรอบด้าน เป็นโครงการที่ต่อยอดความร่วมมือกับกรุงเทพมหานครผ่านโครงการ Colorful Bangkok โดยได้เริ่มนำเสนอคอนเทนต์ผ่านแพลตฟอร์ม TikTok เป็นแพลตฟอร์มแรก เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565 และจะเพิ่มช่องทางการนำเสนอในช่องทางที่หลากหลายมากขึ้นต่อไป