Interview
เทลั่มเฉลิมฉลองวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก 2023
ในวันที่ 3 พฤษภาคมของทุกปี ทั่วโลกต่างร่วมให้ความสำคัญกับสื่อมวลชนเนื่องในวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก ซึ่ง António Guterres เลขาธิการสหประชาชาติ ได้กล่าวไว้ว่า “วันนี้ทำให้เราตระหนักถึงความจริงขั้นพื้นฐานที่ว่า เสรีภาพของเราทุกคนนั้นมาจากเสรีภาพของสื่อมวลชน” ในวิดีโอนี้
เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก ปี 2023 เทลั่มได้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ว่าพวกเขารู้สึกว่าเสรีภาพสื่อได้มีวิวัฒนาการอย่างไรในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา และการเปลี่ยนแปลงอะไรที่พวกเขาอยากให้เกิดขึ้นในอีก 1 ปีข้างหน้า
Sasmito Madrim ประธาน The Alliance of Independent Journalists Indonesia (AJI) อินโดนีเซีย
ขอให้สื่อมวลชนและคนในแวดวงสื่อมีความสุขเนื่องในวันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก! สื่อมวลชนต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายมากมาย เช่น กฎระเบียบข้อบังคับที่ลิดรอนเสรีภาพในการรายงานข่าวและก่อให้เกิดความรุนแรงต่อตัวสื่อมวลชน การทำร้ายร่างกายสื่อมวลชนและองค์กรสื่ออิสระนั้นเกิดขึ้นอยู่ทุกวัน
The Alliance of Independent Journalists Indonesia ได้รับการรายงานถึงการใช้ความรุนแรง 61 เคสกับสื่อมวลชน 97 ราย จาก 14 สำนัก ในปี 2022 โดยระหว่างเดือนมกราคม ถึง 30 เมษายน 2023 มีการรายงานการใช้ความรุนแรงต่อสื่อมวลชนถึง 33 เคส ซึ่งเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกับกับปีก่อนหน้า (มีการรายงานเพียง 15 เคสในปี 2022) การทำร้ายร่างกาย โจมตีทางออนไลน์ และการบิดเบือนข้อมูลเกิดขึ้นกับผู้ที่ออกมาเรียกร้องสิทธิมนุษยชน และกลุ่มคนอื่น ๆ ที่ต้องการแสดงความคิดเห็นสู่สาธารณะทั้งออนไลน์และออฟไลน์ อย่างไรก็ตาม สื่อมวลชนจะเสาะหาหนทางในการนำเสนอข้อเท็จจริงและทำหน้าที่ของตนต่อสาธารณะได้ในที่สุด
พงศ์พิพัฒน์ บัญชานนท์ บรรณาธิการอาวุโส The MATTER (ประเทศไทย)
ในรอบปีที่ผ่านมา สื่อและคนทำงานสื่อสารในไทย (พีอาร์ เอเจนซี่ อินฟลูเอนเซอร์ ฯลฯ) รอดพ้นจากการถูกภาครัฐออกกฎหมายฉบับใหม่มากำกับการสื่อสารอย่างหวุดหวิด ดีที่มีเสียงค้านอย่างหนัก กระทั่งรัฐสภาไม่กล้าผ่านร่างกฎหมายนี้จนนายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภา
ความท้าทายของปีนี้ คือการที่ PDPA หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จะเริ่มถูกนำมาใช้อย่างจริงจัง ที่แม้จะมีข้อยกเว้นให้กับสื่อ แต่อาจถูกนำมาใช้เพื่อเซ็นเซอร์การทำงานในหลายระดับ
ความปลอดภัยการทำงานของสื่อภาคสนาม ก็ยังต้องช่วยกันผลักดันต่อ หลังยังเกิดกรณีนักข่าวถูกเจ้าหน้าที่ทำร้ายร่างกายตอนไปทำข่าว, กรณียิงกระสุนยางใส่มั่วๆ จนบาดเจ็บหลายสิบคนก็ยังไม่มีใครรับผิดชอบ ไม่รวมถึงล่าสุด คือการบุกไปคุกคามช่างภาพถึงที่พัก
สิ่งที่อยากเห็น คือการที่ภาครัฐสนับสนุนการเปิดเผยข้อมูล อำนวยความสะดวกการทำข่าว และคำนึงถึงความปลอดภัยในการทำงานของสื่อมากขึ้น
Ken Low ผู้สื่อข่าวอาวุโส Lianhe Zaobao (สิงคโปร์)
เสรีภาพในการพูดของสื่อมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในปีที่ผ่านมา โดยมีปัจจัยหลักสองประการ คือ ปัญญาประดิษฐ์ และโรคระบาด ลักษณะร่วมโดยทั่วไปของสองสิ่งนี้ได้ให้เหตุผลที่มากขึ้นกับหน่วยงานที่มีอำนาจเกี่ยวข้องในการเข้ามาควบคุมสื่อได้
ตัวอย่างเช่น เพื่อให้แน่ใจว่าการรายงานข่าวที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดมีความถูกต้อง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงให้ความสำคัญกับการรายงานข่าวของสื่อและควบคุมเนื้อหาทางอ้อมอย่างเข้มงวดมากขึ้น ในทำนองเดียวกัน เพื่อให้แน่ใจว่ารายงานของสื่อไม่ได้อิงตามข้อมูลหรือข้อมูลที่สร้างขึ้นโดยปัญญาประดิษฐ์เป็นหลัก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังสามารถควบคุมเนื้อหาโดยอ้อมได้อีกด้วย
Jerome Lantin ผู้ประกาศข่าว DWBL (ฟิลิปปินส์)
ต้องยกเครดิตให้กับฝ่ายบริหารของประธานาธิบดี (Bongbong) Marcos ตั้งแต่พรรคของเขาเข้ามารับอำนาจ ผู้ปฏิบัติงานด้านสื่อก็รู้สึกได้ว่าเสรีภาพในการพูดกำลังดีขึ้น จากนี้ไป หวังว่าเสรีภาพของสื่อมวลชนจะไม่ถูกเซ็นเซอร์หรือถูกคุกคามอีกต่อไป เพราะในช่วงเวลาที่ยากลำบาก เราต้องพึ่งพาสื่อมวลชนที่เป็นอิสระในการให้ข้อมูลแก่เรา
Jade Buhoy ผู้สื่อข่าว Golden Nation Network (ฟิลิปปินส์)
ในยุคปัจจุบัน ข้อมูลแพร่กระจายอย่างรวดเร็วจนเราต้องใช้อิทธิพลของเราในการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสื่อสารมวลชนและพลังของมันในการกำหนดสังคม และในฐานะสุนัขเฝ้าบ้าน เราต้องดำเนินการตามข้อเรียกร้องเพื่อรับใช้ประเทศชาติ ด้วยการช่วยให้ผู้คนเข้าใจว่าการปลดปล่อยให้เป็นอิสระจะเกิดขึ้นได้ เมื่อมีการให้ข้อมูลที่เป็นความจริง
More stories
Telum Media
ฐานข้อมูล
Get in touch to hear more
ขอดูการสาธิตTelum Media
การแจ้งเตือน
Regular email alerts featuring the latest news and moves from the media industry across Asia Pacific Enjoy exclusive daily interviews with senior journalists and PRs as well as in-house editorial and features from the Telum team
สมัครรับการแจ้งเตือน