Interview
เสวนาเปิด: วันสตรีสากลปี 2567
สื่อมวลชนและคนทำงานภาคการสื่อสารประชาสัมพันธ์มีการทำงานร่วมกันอยู่เสมอ แต่ด้วยวัตถุประสงค์ในการทำงานที่แตกต่างกันอาจสร้างช่องว่างระหว่างบุคลากรในสองภาคส่วน ทำให้นักข่าวและคนทำงานภาคประชาสัมพันธ์เหมือนยืนอยู่กันคนละฝั่ง
Open Dialogues (เสวนาเปิด) ซึ่งเป็นโครงการริเริ่มล่าสุดของ Telum พยายามลดช่องว่างนี้ด้วยการผสมผสานมุมมองจากทั้งสองภาคส่วน และเชื่อมต่อคนทำงานจากสองอุตสาหกรรมเข้าด้วยกันผ่านหัวข้อต่างๆ
เสวนาเปิดตอนแรกของเราจะเจาะลึกเกี่ยวกับวันสตรีสากล โดยสำรวจว่าพวกเขาต้องการเห็นอุตสาหกรรมของตนลงทุนในผู้หญิงในปีนี้อย่างไร Telum Media เชิญนักข่าวและบุคลากรในแวดวงสื่อสารและประชาสัมพันธ์จากสิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ มาร่วมแบ่งปันความคิดและอินไซต์ ดังนี้
Debbie Yong นักเขียนอิสระ, สิงคโปร์
“ในปี 2567 นี้ ฉันหวังว่าจะได้เห็นเนื้อหาเกี่ยวกับผู้หญิงในสื่อ เช่น ผู้นำธุรกิจ นักกีฬา หรือเชฟ ที่มีมากกว่าคำถามที่ว่า รู้สึกอย่างไรในการเป็น (ผู้นำ) ผู้หญิง เพราะเรารู้อีกแบบด้วยหรือ? ฉันคิดว่ายกเว้นบางคน พวกเราส่วนใหญ่ไม่เคยเป็นผู้ชายเลย และดูเหมือนเราไม่เคยถามผู้ชายเลยว่าเขารู้สึกอย่างไรที่เป็น (ผู้นำ) ผู้ชาย เพราะฉะนั้น เรามายกมาตรฐานในด้านนี้ให้ดีขึ้นกัน”
Arianne Calumbiran, The Big Story, ฟิลิปปินส์
“ฉันเชื่อว่าอุตสาหกรรมสื่อสามารถลงทุนกับผู้หญิงได้มากขึ้น ด้วยการดูแลให้พวกเธอมีความปลอดภัยในที่ทำงาน จากการคุกคาม ความรุนแรง หรืออันตรายใดๆ นอกจากนี้ ยังควรมีการให้คำปรึกษาหรือการบำบัดสำหรับผู้ที่ถูกคุกคามในที่ทำงานด้วย”
Nurul Nabila, Mӧvenpick Hotel & Convention Centre KLIA, มาเลเซีย
“Mӧvenpick เป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์ Aqua ตอนนี้ในปี 2567 ฉันได้เห็นผู้นำหญิงก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้จัดการมากขึ้น และนั่นคือสิ่งที่ Aqua กำลังทำอยู่ในปัจจุบัน เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับผู้หญิงในการขึ้นเป็นผู้บริหารระดับสูงมากขึ้น นั่นเป็นหนึ่งในความคิดริเริ่มที่ดีที่ Aqua ได้ดำเนินการขึ้นสำหรับผู้หญิงทุกคน”
Charo Logarta Lagamon, First Gen Corporation, ฟิลิปปินส์
“ในภูมิภาคนี้ของโลก ภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องเด่นชัดมาก และผู้หญิงเป็นกลุ่มที่เปราะบางที่สุด ตอนนี้สิ่งที่อุตสาหกรรมพลังงานสามารถทำได้ คือการเพิ่มขีดความสามารถและให้ความรู้กับผู้หญิง เพื่อที่เราจะได้เป็นผู้สนับสนุนในการนำเทคโนโลยีพลังงานสะอาดมาใช้เป็นพลังงานหมุนเวียนได้เร็วขึ้น เพื่อให้ผู้กำหนดนโยบาย เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ สามารถมาร่วมมือและเร่งรัดการปรับเปลี่ยนไปสู่พลังงานหมุนเวียนได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งไม่เพียงแต่ให้พลังงานแก่บ้านของเรา ให้พลังงานไฟฟ้าแก่เรา แต่ยังช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของพวกเราอีกด้วย”
ณัฏฐา โกมลวาทิน, ผู้อำนวยการฝ่ายข่าว, THE STANDARD, ประเทศไทย
“ข้อแรก เราต้องทำให้เสียงของนักข่าวผู้หญิงดังขึ้น ซึ่งไม่ใช่แค่เพียงการมีผู้หญิงอยู่ในทีมเท่านั้น แต่ผู้หญิงควรจะได้มีส่วนร่วมในการคัดเลือกชิ้นงานบรรณาธิการ การคัดเลือกประเด็นข่าวสาร และมีบทบาทในระดับผู้นำขององค์กร เพื่อให้มั่นใจว่าเสียงของผู้หญิงจะได้กำหนดประเด็นเรื่องราว และชี้แนะแนวทางในการตัดสินใจของกองบรรณาธิการ ข้อที่สอง คือการลงทุนในการฝึกอบรม นี่เป็นสิ่งสำคัญมากที่จะต้องมีการบอกเล่าเรื่องราวข่าวสารโดยมีผู้หญิงเป็นศูนย์กลาง มันเป็นสิ่งสำคัญที่จะสนับสนุนให้นักข่าวหญิงได้รายงานข่าวในประเด็นที่สำคัญแต่กลับไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควรนักในหน้าสื่อ เป็นสิ่งสำคัญที่จะนำเสนอมุมมองสดใหม่ให้ปรากฎสู่แถวหน้าอย่างโดดเด่น โดยสรุปแล้ว การขยายเสียงของนักข่าวผู้หญิงให้ดังขึ้น และการมีโปรแกรมฝึกอบรม จะเป็นสิ่งสำคัญที่ส่งเสริมให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ไม่แบ่งแยก และส่งเสริมศักยภาพให้กับผู้หญิงที่ทำงานในสาขาสื่อสารมวลชน”
Hasnida Hanim Ahmad Kamil, Media Prima Berhad, มาเลเซีย
“ในฐานะสื่อ ฉันหวังว่าผู้หญิงจะมีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมการสื่อสารและสื่อกันเป็นจำนวนมากขึ้น เนื่องจากมันเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะต้องแสดงให้เห็นว่า เรา ในฐานะผู้หญิงสามารถนำเสนอข้อมูลล่าสุดในอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการนำเสนอข้อมูลหรือข่าวสารเกี่ยวกับประเด็นปัจจุบัน เศรษฐกิจ หรือกีฬา ดังนั้น ฉันหวังว่าจะมีผู้หญิงที่เข้ามาลองทำหน้าที่ผู้ประกาศข่าวหรือนักข่าวกันมากขึ้น เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมสื่อในมาเลเซีย”
Elin Yunita Kristanti, Liputan6.com, อินโดนีเซีย
“Liputan6 เป็นสื่อกระแสหลักแห่งแรกในอินโดนีเซียที่บรรณาธิการบริหารและรองบรรณาธิการเป็นผู้หญิง ดังนั้น เราจึงเป็นสื่อกระแสหลักกลุ่มแรกที่นำโดยผู้หญิงซึ่งอยู่ในตำแหน่งบรรณาธิการระดับสูงสุด นอกจากนี้ ยังมีผู้หญิงเป็นผู้นำในบทบาทการบริหารจัดการโดยส่วนใหญ่ เราสนับสนุนและถือว่าทั้งหญิงและชายมีความเท่าเทียมกันอย่างแท้จริง และสิ่งที่ทำให้พวกเขาแตกต่าง คือทักษะและวิธีที่พวกเขานำเสนอตัวเอง เมื่อพูดถึงการสนับสนุนผู้หญิงในที่ทำงานของเรา แน่นอนว่าเรามีการลาคลอด และลาปวดประจำเดือนด้วยเมื่อพนักงานยื่นคำขอ เรายังมีห้องให้นมบุตร รวมถึงอนุญาตให้ทั้งพ่อและแม่มารับบัตรรายงานและเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียนลูกๆ ของพวกเขาได้ เพราะเราเชื่อว่าผู้ปกครองมีอิทธิพลเป็นอย่างมากต่อการเติบโตของเด็กๆ และเราไม่เพียงแต่เราให้สิทธิเหล่านี้แก่คนเป็นแม่เท่านั้น แต่คนที่เป็นพ่อก็ได้รับสิทธิเหล่านี้จากเราด้วย นอกจากนี้ เรายังใช้นโยบายที่เป็นมิตรต่อผู้หญิง รายงานข่าวที่เป็นมิตรต่อผู้หญิงที่ผู้หญิงมีส่วนร่วม ในคดีอาญา เราพยายามหลีกเลี่ยงการตัดสินหรือการเหมารวมแบบ stereotype เช่น การเรียกผู้หญิงว่า 'สวย' การรายงานข่าวที่เป็นมิตรต่อผู้หญิงและเด็ก เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายข่าวของเราด้วย”
Open Dialogues (เสวนาเปิด) ซึ่งเป็นโครงการริเริ่มล่าสุดของ Telum พยายามลดช่องว่างนี้ด้วยการผสมผสานมุมมองจากทั้งสองภาคส่วน และเชื่อมต่อคนทำงานจากสองอุตสาหกรรมเข้าด้วยกันผ่านหัวข้อต่างๆ
เสวนาเปิดตอนแรกของเราจะเจาะลึกเกี่ยวกับวันสตรีสากล โดยสำรวจว่าพวกเขาต้องการเห็นอุตสาหกรรมของตนลงทุนในผู้หญิงในปีนี้อย่างไร Telum Media เชิญนักข่าวและบุคลากรในแวดวงสื่อสารและประชาสัมพันธ์จากสิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ มาร่วมแบ่งปันความคิดและอินไซต์ ดังนี้
- Debbie Yong นักเขียนอิสระในสิงคโปร์
- Hasnida Hanim, Media Prima Berhad
- Arianne Calumbiran, The Big Story
- Elin Yunita Kristanti, Liputan6.com
- ณัฏฐา โกมลวาทิน, THE STANDARD
- Charo Logarta Lagamon, First Gen Corporation
- Nurul Nabila, Mӧvenpick Hotel & Convention Centre KLIA
Debbie Yong นักเขียนอิสระ, สิงคโปร์
“ในปี 2567 นี้ ฉันหวังว่าจะได้เห็นเนื้อหาเกี่ยวกับผู้หญิงในสื่อ เช่น ผู้นำธุรกิจ นักกีฬา หรือเชฟ ที่มีมากกว่าคำถามที่ว่า รู้สึกอย่างไรในการเป็น (ผู้นำ) ผู้หญิง เพราะเรารู้อีกแบบด้วยหรือ? ฉันคิดว่ายกเว้นบางคน พวกเราส่วนใหญ่ไม่เคยเป็นผู้ชายเลย และดูเหมือนเราไม่เคยถามผู้ชายเลยว่าเขารู้สึกอย่างไรที่เป็น (ผู้นำ) ผู้ชาย เพราะฉะนั้น เรามายกมาตรฐานในด้านนี้ให้ดีขึ้นกัน”
Arianne Calumbiran, The Big Story, ฟิลิปปินส์
“ฉันเชื่อว่าอุตสาหกรรมสื่อสามารถลงทุนกับผู้หญิงได้มากขึ้น ด้วยการดูแลให้พวกเธอมีความปลอดภัยในที่ทำงาน จากการคุกคาม ความรุนแรง หรืออันตรายใดๆ นอกจากนี้ ยังควรมีการให้คำปรึกษาหรือการบำบัดสำหรับผู้ที่ถูกคุกคามในที่ทำงานด้วย”
Nurul Nabila, Mӧvenpick Hotel & Convention Centre KLIA, มาเลเซีย
“Mӧvenpick เป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์ Aqua ตอนนี้ในปี 2567 ฉันได้เห็นผู้นำหญิงก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้จัดการมากขึ้น และนั่นคือสิ่งที่ Aqua กำลังทำอยู่ในปัจจุบัน เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับผู้หญิงในการขึ้นเป็นผู้บริหารระดับสูงมากขึ้น นั่นเป็นหนึ่งในความคิดริเริ่มที่ดีที่ Aqua ได้ดำเนินการขึ้นสำหรับผู้หญิงทุกคน”
Charo Logarta Lagamon, First Gen Corporation, ฟิลิปปินส์
“ในภูมิภาคนี้ของโลก ภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องเด่นชัดมาก และผู้หญิงเป็นกลุ่มที่เปราะบางที่สุด ตอนนี้สิ่งที่อุตสาหกรรมพลังงานสามารถทำได้ คือการเพิ่มขีดความสามารถและให้ความรู้กับผู้หญิง เพื่อที่เราจะได้เป็นผู้สนับสนุนในการนำเทคโนโลยีพลังงานสะอาดมาใช้เป็นพลังงานหมุนเวียนได้เร็วขึ้น เพื่อให้ผู้กำหนดนโยบาย เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ สามารถมาร่วมมือและเร่งรัดการปรับเปลี่ยนไปสู่พลังงานหมุนเวียนได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งไม่เพียงแต่ให้พลังงานแก่บ้านของเรา ให้พลังงานไฟฟ้าแก่เรา แต่ยังช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของพวกเราอีกด้วย”
ณัฏฐา โกมลวาทิน, ผู้อำนวยการฝ่ายข่าว, THE STANDARD, ประเทศไทย
“ข้อแรก เราต้องทำให้เสียงของนักข่าวผู้หญิงดังขึ้น ซึ่งไม่ใช่แค่เพียงการมีผู้หญิงอยู่ในทีมเท่านั้น แต่ผู้หญิงควรจะได้มีส่วนร่วมในการคัดเลือกชิ้นงานบรรณาธิการ การคัดเลือกประเด็นข่าวสาร และมีบทบาทในระดับผู้นำขององค์กร เพื่อให้มั่นใจว่าเสียงของผู้หญิงจะได้กำหนดประเด็นเรื่องราว และชี้แนะแนวทางในการตัดสินใจของกองบรรณาธิการ ข้อที่สอง คือการลงทุนในการฝึกอบรม นี่เป็นสิ่งสำคัญมากที่จะต้องมีการบอกเล่าเรื่องราวข่าวสารโดยมีผู้หญิงเป็นศูนย์กลาง มันเป็นสิ่งสำคัญที่จะสนับสนุนให้นักข่าวหญิงได้รายงานข่าวในประเด็นที่สำคัญแต่กลับไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควรนักในหน้าสื่อ เป็นสิ่งสำคัญที่จะนำเสนอมุมมองสดใหม่ให้ปรากฎสู่แถวหน้าอย่างโดดเด่น โดยสรุปแล้ว การขยายเสียงของนักข่าวผู้หญิงให้ดังขึ้น และการมีโปรแกรมฝึกอบรม จะเป็นสิ่งสำคัญที่ส่งเสริมให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ไม่แบ่งแยก และส่งเสริมศักยภาพให้กับผู้หญิงที่ทำงานในสาขาสื่อสารมวลชน”
Hasnida Hanim Ahmad Kamil, Media Prima Berhad, มาเลเซีย
“ในฐานะสื่อ ฉันหวังว่าผู้หญิงจะมีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมการสื่อสารและสื่อกันเป็นจำนวนมากขึ้น เนื่องจากมันเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะต้องแสดงให้เห็นว่า เรา ในฐานะผู้หญิงสามารถนำเสนอข้อมูลล่าสุดในอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการนำเสนอข้อมูลหรือข่าวสารเกี่ยวกับประเด็นปัจจุบัน เศรษฐกิจ หรือกีฬา ดังนั้น ฉันหวังว่าจะมีผู้หญิงที่เข้ามาลองทำหน้าที่ผู้ประกาศข่าวหรือนักข่าวกันมากขึ้น เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมสื่อในมาเลเซีย”
Elin Yunita Kristanti, Liputan6.com, อินโดนีเซีย
“Liputan6 เป็นสื่อกระแสหลักแห่งแรกในอินโดนีเซียที่บรรณาธิการบริหารและรองบรรณาธิการเป็นผู้หญิง ดังนั้น เราจึงเป็นสื่อกระแสหลักกลุ่มแรกที่นำโดยผู้หญิงซึ่งอยู่ในตำแหน่งบรรณาธิการระดับสูงสุด นอกจากนี้ ยังมีผู้หญิงเป็นผู้นำในบทบาทการบริหารจัดการโดยส่วนใหญ่ เราสนับสนุนและถือว่าทั้งหญิงและชายมีความเท่าเทียมกันอย่างแท้จริง และสิ่งที่ทำให้พวกเขาแตกต่าง คือทักษะและวิธีที่พวกเขานำเสนอตัวเอง เมื่อพูดถึงการสนับสนุนผู้หญิงในที่ทำงานของเรา แน่นอนว่าเรามีการลาคลอด และลาปวดประจำเดือนด้วยเมื่อพนักงานยื่นคำขอ เรายังมีห้องให้นมบุตร รวมถึงอนุญาตให้ทั้งพ่อและแม่มารับบัตรรายงานและเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียนลูกๆ ของพวกเขาได้ เพราะเราเชื่อว่าผู้ปกครองมีอิทธิพลเป็นอย่างมากต่อการเติบโตของเด็กๆ และเราไม่เพียงแต่เราให้สิทธิเหล่านี้แก่คนเป็นแม่เท่านั้น แต่คนที่เป็นพ่อก็ได้รับสิทธิเหล่านี้จากเราด้วย นอกจากนี้ เรายังใช้นโยบายที่เป็นมิตรต่อผู้หญิง รายงานข่าวที่เป็นมิตรต่อผู้หญิงที่ผู้หญิงมีส่วนร่วม ในคดีอาญา เราพยายามหลีกเลี่ยงการตัดสินหรือการเหมารวมแบบ stereotype เช่น การเรียกผู้หญิงว่า 'สวย' การรายงานข่าวที่เป็นมิตรต่อผู้หญิงและเด็ก เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายข่าวของเราด้วย”
More stories
Telum Media
ฐานข้อมูล
Get in touch to hear more
ขอดูการสาธิตTelum Media
การแจ้งเตือน
Regular email alerts featuring the latest news and moves from the media industry across Asia Pacific Enjoy exclusive daily interviews with senior journalists and PRs as well as in-house editorial and features from the Telum team
สมัครรับการแจ้งเตือน